ทุกส่วนในบล็อกนี้ ไม่สงวนลิขสิทธิ์ อุทิศแล้วเพื่อปวงชน. Powered by Blogger.
RSS

12 ต้นแบบแห่งผู้นำ ตามยุคสมัยและสถานการณ์ที่ต่างกัน ที่คุณสามารถเลือกได้!

สวัสดีครับที่รัก หัวข้อในวันนี้ ยากขึ้นไปอีกระดับเพราะนี่จะช่วย "ยกระดับ" ท่านสูงขึ้นไปเรื่อยๆ นั่นเอง ดังนั้น ผมจึงเสนอหัวข้อนี้ ให้แก่ท่านทั้งหลาย เอาละ เพราะมันเป็นหัวข้อที่ยากแก่การเข้าใจมาก สำหรับท่านที่อยู่ในมิติที่ต่ำกว่าภาวะผู้นำ แต่สำหรับท่านที่อยู่ในมิติแห่งผู้นำแล้ว มันจะไม่ยากเกินไปนัก และเพื่อให้ทุกท่านสามารถเข้าใจได้ทั่วถึงกันทั้งหมด ผมจะขออธิบายอย่างง่ายที่สุด ก็แล้วกัน ดังต่อไปนี้


อย่างแรกที่คุณควรเข้าใจเพื่อปูพื้นฐานคุณก่อนคือ ภาวะความเป็นผู้นำและภาวะความเป็นผู้ตาม สองอย่างนี้ไม่เหมือนกัน มันคืออะไร? มันก็คือ"ธรรมชาติภายในอย่างหนึ่ง" ของบุคคล ที่จะส่งผลและมีอิทธิพลต่อผู้อื่น ในแบบที่แตกต่างกันไป 2 แบบคือ 1. แบบที่ทำให้คนเคลื่อนไหวตามได้ ไม่ว่าจะเป็นทางบวกหรือลบ คือ ไม่ว่าจะเดินตามหรือเดินทางตรงข้ามก็นับว่าเขามีอิทธิพลต่อผู้อื่นแล้ว นี่นับรวมเป็นภาวะผู้นำทั้งหมด และแบบที่ 2. แบบที่ไม่มีอิทธิพลให้คนเคลื่อนไหวในทางลบหรือบวกได้ แต่ตนเองเป็นผู้มักหวั่นไหวไปทั้งทางบวกหรือลบต่อสิ่งอื่นๆ ได้ง่าย ซึ่งก็คือ ภาวะผู้ตาม นั่นเอง ทั้งสองอย่างนี้ ไม่มีอะไรผิดหรือถูก, ดีหรือชั่ว เป็นธรรมชาติอย่างหนึ่งที่บุคคลเลือกได้ มีทั้งข้อดีและข้อเสียในตัวมันเอง เมื่อท่านเลื่อนระดับเข้าสู่มิติของผู้นำแล้ว ท่านเหมือนเข้าสู่ "โลกแห่งผู้นำ" ในนี้ซึ่งยังมีเนื้อหาสาระตามมาอีกมากมาย หลังจากคุณแยกแยะผู้นำและผู้ตามได้


อย่างที่สองคือ "ผู้นำตามธรรมชาติ" ซึ่งมีพลังธรรมชาติที่เรียกว่าผู้นำอยู่ในตัวเองแล้วแม้ว่าไม่มีตำแหน่งก็ตามและ "ผู้นำโดยสมมุติ" ซึ่งเกิดจากการแต่งตั้งทางโลก การได้รับตำแหน่งทางโลก ก็ดี ทั้งสองอย่างนี้คุณควรเข้าใจให้ดี เพราะบางครั้ง คุณจะพบความขัดแย้ง ในตัวมันเองได้ เช่น คนที่มีอำนาจโดยตำแหน่งแต่ไม่มีอำนาจตามธรรมชาติ หรือคนที่ไม่มีอำนาจตามตำแหน่งแต่มีอำนาจโดยธรรมชาติ ก็มีได้ เป็นได้ทั้งนั้นดังนั้น ถ้าแบ่งตามแนวคิดนี้ เราจะได้คน 4 แบบ คือ 1. ผู้นำโดยตำแหน่งที่มีพลังผู้นำตามธรรมชาติ 2. ผู้นำไร้ตำแหน่งที่มีพลังผู้นำตามธรรมชาติ3. ผู้นำโดยตำแหน่งที่ไม่มีพลังผู้นำตามธรรมชาติ และ 4. ผู้นำโดยไม่มีตำแหน่งและไม่มีพลังผู้นำตามธรรมชาติ (แต่อยากจะนำหรือพยายามจะทำ) เอาละ 4 แบบนี้ คงไม่ต้องอธิบายมาก หวังว่าท่าจะเข้าใจได้ไม่ยาก


อย่างที่สามคือ "ความสัมพันธ์สามสิ่ง" ได้แก่ 1. ลักษณะผู้นำ 2. ยุคสมัย และ 3. สถานการณ์ สามอย่างนี้ สัมพันธ์กันอย่างมาก กล่าวคือ ผู้นำเองมีหลายแบบ และแต่ละแบบมียุคสมัยของตนเอง ต่อให้ดีแค่ไหน ถ้าหมดยุคสมัยของตนแล้ว ก็สิ้นท่า ทำอะไรไม่ได้เลย อันนี้คุณต้องเข้าใจด้วย และสถานการณ์ด้วยนะมันเป็นเรื่องย่อยต่อจากยุคสมัย คุณลองจินตนาการถึงจักรวาลเหมือนจักรแบนๆ นะ จะมีสองจักร คือ จักรใหญ่และจักรเล็ก ในจักรใหญ่จะหมุนเวียนวนเคลื่อนไปมี 11 ซี่แต่ละซี่คือ "ยุคสมัย" ทั้ง 11 ยุคที่แตกต่างกัน และมีตรงกลางคือ "องค์ประธาน" ผู้นำหนึ่งเดียวที่ดูแลกลจักรนี้ทั้งหมด ล่างลงไปเป็น "จักรเล็ก" มีทั้งหมด 12 ซี่คือ "สถานการณ์" เรียกว่า ผู้นำตามสถานการณ์ ซึ่งจะอยู่ภายใต้การดูแลของผู้นำตามยุคสมัยอีกที ในจักรใหญ่แต่ละซี่แทน "สิ่งศักดิสิทธิ์ 1 องค์" และในจักรเล็กหนึ่งซี่จะเป็นตัวแทน"เทพนักษัตร 1 องค์" ดังนั้น มันไม่เท่ากันใช่ไหม? (11 ต่อ 12) เมื่อจักรเคลื่อนหมุน จึงเกิดการคลาดเคลื่อนของคู่ นั่นคือ ในรอบที่หนึ่งของจักรใหญ่ สิ่งศักดิสิทธิ์จะนั่งขี่เทพนักษัตรแบบหนึ่ง แต่ในรอบที่สองของการหมุน (ปีที่ 12-23) จะมีการเลื่อนเปลี่ยนไปนั่งทรงเทพนักษัตรองค์อื่น จะไม่นั่งประจำคู่กันไปตลอด เพราะจักรมีซี่ไม่เท่ากัน (พอนึกภาพออกนะ) สิ่งนี้เป็นตัวแปร ที่ส่งผลต่อโลกในแต่ละปีที่แตกต่างกันมากมายเลย ส่งผลให้โลกมียุคสมัยและมีสถานการณ์ที่แตกต่างกันอีกด้วย ซึ่งส่งผลต่อการขึ้นมามีอำนาจของผู้นำ นั่นคือ "ยุคสมัยและสถานการณ์นั้นจะเป็นตัวเลือกผู้นำ" แม้ผู้นำจะดีเพียงใดแต่ถ้าไม่ใช่ยุคสมัยของเขา หรือสถานการณ์ไม่เอื้ออำนวย เขาก็ไม่อาจขึ้นมามีอำนาจได้ แต่ถ้าถึงยุคของเขาเมื่อไร หรือสถานการณ์เอื้ออำนวยเมื่อไร เขาก็จะได้ขึ้นมามีอำนาจเมื่อนั้น เอาละ คุณพอเข้าใจเรื่องยุคสมัย, สถานการณ์ และผู้นำแบบต่างๆ แล้วนะ ในมิตินี้ คุณจะยึดมั่นถือมั่นในตัวผู้นำลักษณะหนึ่งใดว่าถูกต้อง, ดีที่สุด หรือสมบูรณ์แบบที่สุดแล้วไม่ได้ มันขึ้นอยู่กับยุคสมัยและสถานการณ์เท่านั้นที่เป็นตัวกำหนด ไม่อาจยึดมั่นตัวผู้นำได้ 


อย่างที่สี่ ผมจะขออธิบายยุคสมัยและผู้นำที่เกี่ยวข้องกันให้ท่านทราบอย่างแรกท่านต้องเข้าใจก่อนว่ามันไม่มี ความถูก-ผิด, ดี-ชั่ว ในระดับของมิตินี้ มิตินี้เหนือกว่าขึ้นไปกว่าสิ่งเหล่านั้น และเราเห็นอะไรมากกว่าการยึดติดในสิ่งเหล่านั้น มากพอที่เราจะจัดสรรสิ่งต่างๆ ได้เหมาะสมที่สุดตามยุคสมัยและสถานการณ์ของโลก ซึ่งท่านที่ยังยึดติดในความถูกผิด, ดี-ชั่ว จะไม่มีทางเข้าใจได้ ท่านต้องยกระดับตัวเองให้สูงขึ้นจากสิ่งนั้นให้ได้ก่อน ท่านจึงจะเข้าใจว่าโลกใบนี้ทำไมจึงมีผู้นำที่ดุร้ายและเลวทรามเกิดขึ้นมาได้มากมาย นั่นไม่มีอะไรผิดหรอก มันเป็นเช่นนั้นเองตามที่มันควรจะเป็นแล้วตามยุคสมัยของมัน บางครั้ง ผู้นำที่ดุร้ายก็ปรากฏในยุคที่มืดมนเช่น "กลียุค" จะเป็นยุคของผู้หญิงเรืองอำนาจ มีพลังทำลายอสูรคือ สิ่งศักดิสิทธิ์ที่คุณเรียกว่า "พระแม่กาลี" นั่นเอง หรือบางยุคสมัยจะมีผู้นำชายที่โหดเหี้ยมปรากฏเช่น ฮิตเล่อร์ เป็นต้น นั่นก็ไม่ผิดแปลกนักเพราะเป็นยุคสมัยของเขา ที่จะต้องมี จะต้องเป็น จะต้องเกิด ก็เท่านั้นเองและเมื่อหมดยุคสมัยของเขาแล้ว เขาก็จะจากไป ไม่อาจอยู่ในอำนาจได้


ต่อไปเป็น "ผู้นำแบบที่หนึ่ง" ใน "ยุคสว่างไสว" ของโลก ผู้นำท่านนี้จะมีพลังไฟแห่งความสร้างสรรค์ เต็มเปี่ยมพร้อมด้วยปัญญา และมุ่งหน้าพัฒนา ขับเคลื่อนประเทศให้ก้าวไปข้างหน้า เมื่อเกิดในประเทศใดแล้ว จะนำมาซึ่งสิ่งกุศลและดีงามมากมาย ทำให้ประเทศเจริญมากทั้งทางโลกและทางธรรม ผู้นำท่านนี้ ใช้ "จักร" ขับเคลื่อนโลกให้เกิดการพัฒนาไปข้างหน้าเรื่อยๆ เขาเห็นโลกมนุษย์ของเขา คือ โลกแห่งความสว่างไสว ผู้คนทำกิจกรรมต่างๆ ในเวลากลางวัน ตกคืน ก็นอนไม่มีการทำงานในเวลากลางคืน สัตว์ที่เขาปกครองเป็นสัตว์ที่หากินในเวลากลางวันทั้งสิ้น 12 กลุ่ม พวกเขานิยมออกกลางแจ้ง สัมผัสชีวิตที่ปรับตัวเข้ากับธรรมชาติ ดิน, น้ำ, ลม, ไฟ เพื่อปรับตัว พัฒนาตามไปได้อย่างไม่ขัดแย้งกับธรรมชาติ ผู้นำท่านนี้เน้นความสอดคล้องกับธรรมชาติอะไรที่ขัดแย้งหรือฝืนธรรมชาติ ท่านไม่นิยมเลย ท่านจะเก่งการเมืองการปกครอง ไม่เน้นการใช้กฏหมายในการพิพากษา ท่านไม่ชอบพิพากษาใครท่านให้อิสรภาพแก่ทุกคน ให้สิทธิที่เท่าเทียมกัน เห็นทุกคนเท่าเทียมกันและเป็นหนึ่งเดียว โลกไม่มีการแบ่งแยกกันด้วยเพศ, เชื้อชาติ หรืออะไรๆ


ต่อไปเป็น "ผู้นำแบบที่สอง" ใน "ยุคมืด" ของโลก ผู้นำท่านนี้พยายามทำตามแบบอย่างท่านแรก ซึ่งทำไว้ได้ดีมากและเป็นต้นแบบของโลกที่ดีงามทีเดียว ทว่า ต่างกันตรงที่ยุคสมัยเปลี่ยนไป กลายเป็น "ยุคมืด" เสียแล้ว ไฟแห่งการพัฒนาดับมอดลงและเปลี่ยนเป็นการ "ยึดมั่นสิ่งเก่าๆ และมุ่งหน้าอนุรักษ์สิ่งที่มีเอาไว้เท่านั้น" เพื่อไม่ให้มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ อันจะส่งผลให้เกิดการกระทบกระเทือนต่อสิ่งที่มีอยู่เดิม ซึ่งทำเอาไว้ดีแล้วนั่นเอง ดังนั้น จึงต้อง "แช่แข็ง" ให้สิ่งต่างๆ อยู่อย่าง "สงบหรือหยุดนิ่ง" ทุกคนใจเย็นอยู่อย่างสงบ ก็จะอยู่ร่วมกันได้ต่อไปได้ยุคนี้ เริ่มมืดแล้ว แต่ทุกคนยังไม่แตกแยก ยังอยู่ร่วมกันได้เพราะพลังเย็นที่แช่แข็งพวกเขาเอาไว้ ไม่ให้กระทำการณ์อะไรนั่นเองในยุคนี้ โลกจะเปลี่ยนไป ผู้คนจะทำงานกลางคืนมาก ตกกลางคืนแล้วยังไม่หลับ โลกจะสว่างไสวด้วยแสงไฟในยามค่ำคืนนั้นและจะมี "ยาเสพติด" เกิดขึ้นมากมาย เพราะความมืด-ลุ่มหลง


ต่อไปเป็น "ผู้นำแบบที่สาม" ใน "ยุคแข่งขัน" ของโลก ผู้นำท่านนี้เกิดมาในยุคมืดเช่นกัน ทว่า สถานการณ์แย่ลงไปอีก นั่นคือ โลกจะมีการแบ่งแยกพรรคพวกกันขึ้นไม่ได้รวมกันเป็นหนึ่งเดียวดังในสองยุคแรกนั้น ซึ่งจะแบ่งแยกกัน จนไม่อาจเข้ากันได้อีก ในที่สุด ผู้นำท่านนี้จึงต้องหาวิธีให้เกิดการรวมกันเป็นหนึ่งเดียวได้อีกครั้ง ด้วยการทำสิ่งที่เรียกว่า "เอาชนะอีกฝ่าย" จึงเกิดการแข่งขันขึ้น ก็ดี, สงคราม ขึ้นก็ดี ภายใต้กติกา "แพ้-ชนะ" (win-lose) คือ มีฝ่ายหนึ่งแพ้ ก็ต้องยอมเสียอำนาจไป ฝ่ายชนะจะรวบอำนาจและเริ่มต้นเกมใหม่ ทำให้มีเอกภาพขึ้นได้อีกครั้งจากการเอาชนะอีกฝ่ายนั้นๆ ท่านจึงถูกเรียกว่า"เทพเจ้าแห่งสงคราม" ทว่า อย่าคิดว่าท่านใช้แต่การสงครามแก้ไขปัญหาเท่านั้น อะไรก็ได้ที่ทำให้เกิดการแพ้และชนะ จบเกมได้ และเริ่มต้นเกมใหม่โดยฝ่ายชนะได้ ก็นับว่า เป็นการปกครองในแบบของท่านโลกในยุคนี้ ผู้คนจึงต้องแข่งขันกันอย่างยิ่งยวด ต้องพัฒนาตัวเองให้เต็มที่ เพราะถ้ากลายเป็น "ฝ่ายแพ้" เมื่อใด อาจไม่มีที่ยืนต่อไปอีกได้


ต่อไปเป็น "ผู้นำแบบที่สี่" ใน "ยุคแบ่งแยก" ของโลก ผู้นำท่านนี้พบสถานการณ์ที่ย่ำแย่ลงไปอีก คือ ภาวะที่ไม่อาจกลับไปรวมกันเป็นหนึ่งเดียวได้อีก แมว่าการแข่งขันแบบแพ้-ชนะ จะเคยใช้ได้ผลในยุคก่อนหน้าที่ก็ตาม ทว่า ยุคนี้กลับใช้ไม่ได้อีกแล้ว เพราะมันไม่มีใครแพ้หรือชนะอย่างเด็ดขาดได้เลย ยิ่งแข่งขันรังแต่จะยิ่งทำให้เกิดการสู้รบที่ยืดเยื้อไปมากขึ้น ท่านจึงหาวิธี "แบ่งแยกเพื่ออยู่อย่างสงบ" ดังนั้น จึงมี "การสื่อสารและแลกเปลี่ยน" ขึ้น มีการใช้การฑูต เจรจาหย่าศึกจบศึกลงด้วยสัมพันธไมตรี แล้วแยกกันอยู่เสีย โลกจึงถูกแบ่งแยกออกเป็น "เขตแดนต่างๆ" คำว่า "ประเทศจึงเกิดขึ้น" เพราะโลกไม่อาจจะรวมเป็นหนึ่งเดียวกันได้อีกแล้ว ทว่า เพราะการเจรจาต่อรอง, และการแลกเปลี่ยน จึงทำให้ไม่ต้องมีการแข่งขันแบบแพ้-ชนะอีก ต่างก็ได้ผลประโยชน์ทั้งคู่ (win-win) ทว่า ยุคนี้ ก็เสื่อมลงจากยุคที่แล้ว (เพราะถูกแบ่งแยกไม่อาจกลับไปรวมกันได้เป็นโลกหนึ่งเดียวกันได้อีก นั่นเอง)


ต่อไปเป็น "ผู้นำแบบที่ห้า" ใน "ยุคชนชั้น" ของโลก ผู้นำท่านนี้เกิดในยุคที่แย่ลงไปอีก เพราะนอกจากจะมีการแบ่งแยกแล้วยังมีความไม่เท่าเทียมกันเกิดขึ้นอีก ทำให้มี "สูง-ต่ำ" เกิดขึ้นในสังคมมีผู้ใหญ่-ผู้น้อย, มีครู-ลูกศิษย์ เกิดขึ้น ทั้งๆ ที่เดิมโลกถูกปกครองโดยแนวคิด "เท่าเทียมกันมาก่อน" เพราะอะไร? เพราะแม้แต่การเจรจาต่อรองและแลกเปลี่ยน นั้นๆ ก็ไม่อาจแก้ปัญหาได้อีก จึงต้องแยกกันอยู่อย่างมีลำดับชั้น มีชนชั้น แต่ละชนชั้นต้องรู้บทบาทของตนเองว่าทำอะไรได้และไม่ได้บ้าง โลกยุคนี้ เป็นโลกยุคฤษีเป็นโลกยุคที่พระพุทธเจ้าสมณโคดมลงมาเกิด เพื่อขับเคลื่อนโลกให้กลับไปดีดังเดิม ซึ่งในครั้งนั้นพระพุทธเจ้าทรงขับเคลื่อนขึ้นไปได้ในยุคที่ 2 คือ "ยุคมืดหรือยุคเย็น" นั่นเอง เอาละ แม้ว่าโลกยุคนี้จะมีชนชั้นแต่พวกเขาก็สร้างจารีตต่างๆ มากมายขึ้นมาเพื่อล้อมกรอบมนุษย์ให้มีความสงบ อยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ ดังนั้น พวกเขาจึงอยู่ได้ด้วยจารีตประเพณี, วัฒนธรรม ต่างๆ ที่สร้างขึ้นมาให้แต่ละชนชั้นยอมรับตาม


ต่อไปเป็น "ผู้นำแบบที่หก" ใน "ยุคอาภัพ" ของโลก ผู้นำท่านนี้เกิดในยุคที่เสื่อมลงไปอีก แม้ว่าจะยังมีบุญ ยังอยู่รอดได้ ทว่า ไม่ดีดังก่อน เพราะเมื่อก่อนคนไม่ต้องเลือกว่าจะเอาดีในครัวเรือนหรือจะเอาดีนอกบ้าน ทว่า พอมาถึงยุคนี้ต้องเลือกแล้ว ว่าจะเอาดีนอกบ้านหรือในบ้าน? ถ้าเอาดีนอกบ้าน เป็นผู้นำสังคมได้ แต่ต้องยอมสละความสุขส่วนตัว ต้องเป็น "สาธารณชน" เต็มตัว แม้มีอำนาจได้แต่ก็ไม่มีความสุข และความเป็นส่วนตัว แต่ก็ยังดูแลโลกที่มีทั้งการแบ่งแยกและชนชั้นต่อไปได้ เขาต้องสละต้องเลือกซึ่งถ้าเลือก"ครอบครัว" เขาก็จะมีความสุขอยู่ในครอบรัวของเขา แต่เขาจะไม่มีอำนาจทางโลกเลย ไม่ใช่สาธารณะชนอีกต่อไป และก็ไม่อาจที่จะปกครองสังคมได้ เหมือนศิลปินหรือดารา ที่หากต้องการเป็นที่ยอมรับของสังคม ก็ต้องยอมสละความเป็นส่วนตัวไปให้ได้ แต่ถ้าไม่ยอมสละ เลือกความสุขและครอบครัว ก็จะไม่อาจเป็นที่ยอมรับของสังคม


ต่อไปเป็น "ผู้นำแบบที่เจ็ด" ใน "ยุคยากเข็ญ" ของโลก ผู้นำท่านนี้เกิดในยุคที่แย่ลงไปอีก เพราะแม้ว่ายังมีบุญเหลืออยู่ แต่ว่าทำอะไรก็แทบจะไม่ขึ้นอีกแล้ว ต้องยอมอยู่อย่างสมถะไป มีเท่าไร พอใจเท่านั้นยังไม่พอ ไม่จบ ปัญหาจากการแบ่งแยก, ชนชั้น และการต้องเลือกนั้นยิ่งหนักลงไปใหญ่ จนต้อง "ฝืนธรรมชาติ" บ้างในหลายๆ ครั้ง และมีความลำบากยากเข็ญเป็นที่สุด เพราะเป็นยุคสุดท้ายของการเสวยบุญแล้ว จึงแทบไม่เหลืออะไรอีก ผู้คนทั้งหลายต้องลำบากยากเข็ญ กว่าที่จะได้อะไรมาหรือแก้ไขอะไรได้ แต่เขาก็ปกครองผู้คนได้ด้วยการยอมที่จะฝืนธรรมชาตินั่นแหละ และต้องฝืนธรรมชาติ ไม่เช่นนั้น ก็ไม่อาจที่จะแก้ไขปัญหาของประชาชนได้จึงเรียกได้ว่าเป็น "ยุคยากเข็ญ" โดยแท้


ต่อไปเป็น "ผู้นำแบบที่แปด" ใน "ยุคลุ่มหลง" ของโลก ผู้นำท่านนี้เกิดในยุคที่แย่ลงไปอีก อย่างไร? เพาะผู้นำมีความลุ่มหลงมาก นั่นเอง แต่เขาก็ปรับตัวอยู่ได้ในยุคสมัยนี้ แถมยังมีพลังอำนาจมากอีกด้วย เพราะอะไร? เพราะเป็นยุคของเขานั่นเอง ในยุคนี้ ผู้คนไม่มีบุญเหลือจะเสวย ต้องรอรับแต่บาปเคราะห์แล้ว จึงได้ผู้นำที่ลุ่มหลงในสิ่งต่างๆ ทั้งลาภ, ยศ, สรรเสริญ และสุรา-กาเมฯ โลกจะเต็มไปด้วยคนที่ลุ่มหลงและชอบโกงกิน คนสุจริตทำอะไรไม่ขึ้น คนทุจริตทำอะไรก็ได้ดีไปหมด คนดีเริ่มจากหนีหายไป คนเลวร้ายกลับมาอยู่เต็มไปหมดโลกจึงกลับตาลปัตร ยิ่งเลวยิ่งได้อำนาจ ยิ่งดียิ่งตกต่ำซ้ำรันทด เพราะ"กรรมของปวงสัตว์" นั่นเอง นับเป็นช่วงของการเสวยกรรมมนุษย์โลกยุคแรก หลังจาก 7 ยุคที่ผ่านมานั้น ล้วนเป็นการเสวยบุญมาก่อนทั้งสิ้น


ต่อไปเป็น "ผู้นำแบบที่เก้า" ใน "ยุคพิพากษา" ของโลก ผู้นำท่านนี้จะเกิดในยุคที่ตกต่ำย่ำแย่ลงไปอีกกว่า 8 ยุคที่ผ่านมา กล่าวคือ ท่านจะขึ้นมามีอำนาจเร็วเกินไป หรือยังไม่พร้อม หรือยังเป็นเด็กอยู่มากแม้จะมีจิตใจที่ดีงาม ใสซื่อบริสุทธิ์ แต่จะถูก "ครอบงำ" ด้วยอำนาจมืดที่บงการอยู่เบื้องหลัง ก็ดี ทำให้มีการ "ใช้กฏหมายลงโทษ" หรือมีการพิพากษากันมากมาย (ยุคที่แปด ก่อนหน้านี้ ยังไม่รุนแรงถึงขั้นพิพากษากัน สามารถผ่อนปรนกันได้ คุยกันได้ ด้วยการยัดเงิน ก็ดี) ซึ่งทำให้มีผู้คนได้รับโทษมากมาย ทั้งที่ในแง่การปกครอง ก็สามารถเลือกวิธีที่ดีกว่านี้ได้มากมาย ทว่า ก็ไม่เป็นเช่นนั้น อำนาจกฏหมายถูกใช้ไปเพื่อที่จะเล่นงานฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งบ้าง เพื่อเสริมอำนาจให้แก่พวกของตนบ้างเราจึงเรียกยุคนี้ว่า "ยุคพิพากษา" ซึ่งปรากฏอยู่ในคำสอนส่วนหนึ่งในคริสตศาสนาด้วย ทว่า นี่ไม่ใช่ทั้งหมดนะ เป็นแค่ 1 ในทั้งหมดของยุคที่ได้กล่าวถึงมาเท่านั้น ยังมียุคอื่นๆ อีก ที่มีสถานการณ์และผู้นำที่ต่างไป


ต่อไปเป็น "ผู้นำแบบที่สิบ" ใน "ยุคภัยพิบัติ" ของโลก ผู้นำท่านนี้ขึ้นมามีอำนาจในยุคที่แย่ลงไปอีก เพราะมาพร้อม "ภัยพิบัติ" เพราะปวงสัตว์มีกรรมหนักลงไปอีกขั้น ต้องชำระกรรมด้วยภัยพิบัติ ดังนั้น เขาจึงได้รับอำนาจขึ้นมากระทำการณ์ครั้งนี้ เพื่อให้มนุษย์นี้ได้ชำระกรรมให้หมดสิ้นไป ผู้นำท่านนี้ จะไม่ใช่คนที่ใสซื่อแบบเด็ก อีกต่อไปแล้ว เขาโตเป็นผู้ใหญ่และรู้อะไรมากเหลือเกิน หรือมากเกินไป ด้วยซ้ำ และพร้อมด้วยเจตนาจะมาลงโทษมนุษย์โดยเฉพาะ เขาจะมีพลังได้ด้วย "พลังเชิงลบ" ของมนุษย์ทั้งหลาย บางครั้ง เขาจะทำนายว่าจะเกิดภัยพิบัติเพื่อให้คนหวาดกลัวและใช้พลังนั้น เพื่อให้เกิดขึ้นจริงและอีกหลายวิธี ที่จะทำให้เกิดภัยพิบัติรูปแบบต่างๆ ขึ้นมาได้จริงโดยอัศจรรย์ เขาจึงเหมือน "เทพเจ้า" ที่ยิ่งใหญ่ที่มีวาจาสิทธิ์ ทำนายแล้วเป็นจริงดังนั้น ผู้คนก็ยิ่งเชื่อและให้อำนาจเขายิ่งขึ้นไปอีก เป็นวัฏจักรซึ่งก็ตรงกับเวลาของโลกคือ "ปีนี้" นั่นเอง เอาละ มันเป็นกิจของเขาที่เราไม่อาจก้าวก่ายมากไปกว่านี้ได้ ดังนั้น จะไม่ขออธิบายมากไปกว่านี้


ยังมีผู้นำอีก 2 แบบ แต่ว่ามันเป็นอนาคตที่ของท่าน ที่ท่านจะได้พบเจอ เราจะไม่ขอกล่าวถึงในที่นี้ เพราะมันจะส่งผลกระทบต่อการทำกิจของพวกเขาด้วย ขอกล่าวว่า ใน 12 ท่านนี้ จะมี 11 ท่านที่เป็นตัวแทนจาก "สหพันธ์ดวงดาว" ดังนั้น เขาจึงมีปัญหานิดหน่อยคือเขามัก "ยึดติดโลกเก่าของตัวเอง" เมื่อใดที่เขามีอำนาจ ในโลกนี้มากเกินไปหรือนานเกินไป เขาก็จะสร้าง "โลกของเขาเอง" ขึ้นมาซ้อนทับโลกใบนี้ ซึ่งมันไม่ควรจะเป็นอย่างนั้น ดังนั้น จึงต้องมีอีก 1 ท่าน ขึ้นมาเป็น "ประธานของสหพันธ์ดวงดาว" ซึ่งท่านนี้เป็นผู้นำที่แตกต่างจากทุกท่าน สามารถเข้าออกโลกทั้ง 11 ใบของทุกท่านได้เข้าใจถึงโลกทั้ง 11 แบบ แต่ไม่ยึดติดในโลกใดโลกหนึ่งทั้ง 11 นั้นเลย เขาจึงสามารถนั่งหัวโต๊ะในฐานะ "ประธาน" และดูแลไม่ให้ผู้นำทั้ง 11 สร้างโลกของตนเองขึ้นซ้อนทับโลกใบนี้ได้ นั้นเอง เอาละ ในที่นี้ เราจะไม่กล่าวถึงมากไปกว่านี้อีก เมื่อใดที่ท่านเลื่อนระดับขึ้นมาได้ท่านก็จะทราบเอง สำหรับหัวข้อผู้นำตามยุคสมัยของโลกทั้ง 12 แบบผมขอเสนอยกตัวอย่างเพียง 10 แบบ ก็แล้วกัน สำหรับวันนี้ สวัสดีครับ


3 มิ.ย 2555


"เสียงจากสภาฯ"
รับสื่อสารโดย


瑠璃王

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

0 comments:

Post a Comment