ทุกส่วนในบล็อกนี้ ไม่สงวนลิขสิทธิ์ อุทิศแล้วเพื่อปวงชน. Powered by Blogger.
RSS

จิตประภัสสร-จิตหนึ่ง-จิตพุทธะ กับ ญาณตรัสรู้-การบรรลุธรรม สัมพันธ์อย่างไร?

สวัสดีครับ วันนี้ ผมขอกลับมาปูพื้นฐานธรรมให้ท่านแข็งแกร่งขึ้น เพื่อไม่ให้ท่านหลงทางหากท่องไปกลางจักรวาลนะครับ เอาละ เรื่องที่ผมจะพูดวันนี้ คือ เรื่องของจิตที่หลายท่านยังสับสนอยู่มากเลยทีเดียว ผมจะขออธิบายลัด-สั้น-ง่าย-สบายๆ ก็แล้วกัน เชิญฟังครับ


"จิตหนึ่ง" ไม่เที่ยง อย่ายึดมั่นถือมั่นว่ามนุษย์จะต้องมีจิตหนึ่งอยู่ตลอด


ความเข้าใจผิดของคำว่า "จิตหนึ่ง" มีมากมายหลายประการ เช่น บ้างไปเข้าใจผิดคิดว่า "จิตหนึ่ง" คือ ภาวะเที่ยงของมนุษย์ หรือมนุษย์จะมี "จิตดวงเดียว" อยู่ตลอด "ซึ่งผิดถนัด" มันไม่ใช่อย่างนี้เลย ความจริงคือ "มนุษย์มีจิตวิญญาณหลายดวง" ทำให้สับสนและยากแก่การเข้าถึงธรรม พระพุทธเจ้าทรงค้นพบวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้คนบรรลุธรรมได้ง่ายขึ้นด้วยการ "โปรดเขาขณะเขามีจิตหนึ่ง" ซึ่งไม่ได้เกิดจากการรวมจิตให้เป็นหนึ่งจากการทำสมาธิแต่อย่างใด แต่เกิดจากการอาศัยจังหวะที่จิตวิญญาณดวงอื่นๆ จรออกจากร่าง "ชั่วขณะ" นั้นเอง ก็โปรดด้วยธรรมบริสุทธิ์ เขาที่มีจิตวิญญาณ มีอินทรีย์พร้อมมูลอยู่แล้ว จะบรรลุธรรมได้ง่ายมากแบบ "ฉับพลันขณะ" หรืออาศัยช่วยเวลาสั้นๆ ที่จิตวิญญาณดวงอื่นๆ จรออกจากร่างแบบฉับพลันขณะนั้น ในการถ่ายทอดธรรมจึงบรรลุธรรมได้ง่าย เพราะช่วงเวลาที่คนมีจิตหนึ่งนั้น "สั้นมาก" จึงต้อง "ฉับพลัน" ทันที เหมือนสายฟ้าฟาด (วัชระ) ดังนั้น คำว่า ฉับพลัน จึงเกิดขึ้นเพราะเหตุนี้ ทว่า เมื่อบรรลุธรรมแล้ว จิตวิญญาณดวงอื่น ก็ต้องกลับเข้ามายังสังขารตามเดิม ทำให้สังขารนั้นๆ ไม่ได้มี "จิตหนึ่ง" อีกอีกประการ คำว่า "จิตหนึ่ง" ไม่ได้แปลว่า จิตนั้นคือพุทธะอะไรเลย ซึ่ง"ท่านฮวงโป" หลงคำว่าพุทธะมากไป ทำให้ยึดมั่นพุทธะ คิดว่าจิตคือพุทธะไปเสียหมด แท้แล้วจิตไม่ได้เป็นอะไร ไม่ใช่ทั้งพุทธะหรืออะไรทั้งสิ้น จิตมันบริสุทธิ์ของมันแต่มีวิญญาณขันธ์ปรุงแต่ง ทำให้เห็นเป็นกายทิพย์ต่างๆ กันไป พุทธะบ้าง, โพธิสัตว์บ้าง, มารบ้าง, เทพบ้าง ก็เท่านั้น



"จิตประภัสสร" ก็คือ ลักษณะของจิตทุกดวง ล้วนบริสุทธิ์เหมือนกันหมด


อีกประการหนึ่งคือ "จิตประภัสสร" ก็คือ ธรรมะ, ธรรมดา, ธรรมชาติของจิต มันมีลักษณะเหมือนกันทั้งหมด คือ "ประภัสสร" บริสุทธิ์อยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นจิตของเทพ, ยักษ์, มาร, พรหม, โพธิสัตว์, พุทธะ ฯลฯ ก็ไม่ต่างกันและ "ไม่เกี่ยวกับการบรรลุธรรม" กล่าวคือ ไม่ใช่เหตุปัจจัยที่จะไปยึดโยงว่า "คนที่มีจิตบริสุทธิ์จะต้องบรรลุธรรม" อันนี้ "ผิดถนัด" อย่าไปยึด-สรุปเช่นนี้ คนมีจิตใสซื่อแต่โง่ และไม่มีปัญญา ก็มี คำว่าบริสุทธิ์ ไม่ได้แปลว่ามีปัญญาถึงนิพพานได้แล้ว ก็หาไม่ อันนี้ ต้องเข้าใจด้วย ดังนั้น จะบอกว่าคนทุกคนก็บรรลุธรรมหมดเพราะมีจิตบริสุทธิ์เหมือนกันโดยไม่ต้องทำอะไรนั้น "ไม่ได้" การบรรลุธรรม ได้ผลเป็น "อรหันต์" ที่เรียกว่า "อรหันตผล" นั้น ต้องเดินตาม "มรรค" ที่ถูกต้องเป็น "เหตุ" จึงก่อผลเป็นการบรรลุธรรมได้"อรหันตผล" ออกมาเป็นผลได้ ซึ่งการได้ผลเป็นอรหันต์นั้นจะไปยึดมั่นว่า"ต้องนิพพานแน่นอน" ก็หาได้ไม่ ไม่ใช่อย่างนั้น อรหันต์กับนิพพาน มันไม่ใช่สิ่งเดียวกัน อรหันต์คือผลจากการเกิดปัญญาแจ้งในนิพพาน โดยอาศัย"มรรคเป็นเหตุ" แต่ "นิพพานไม่เกิด-ไม่ดับ ไม่เนื่องด้วยอะไร มาเป็นเหตุให้เกิด เพราะไม่เกิด และไม่ดับ ด้วยไม่ใช่สมมุติใดๆ นั่นเอง" ดังนั้น เมื่อมีจิตประภัสสรเหมือนกันหมดแล้ว ปัญหาจึงไม่ใช่การฝึกจิตหรือทำให้จิตมีสภาพเปลี่ยนไปอย่างไร? ปัญหาคือ "ขันธ์ห้า" ที่ปรุงแต่ง "รอบจิต" อยู่ต่างหาก หากดับขันธปรินิพพานได้ ก็เข้าถึงนิพพานได้ ถ้าจิตนั้นไม่ไปทำอะไรอีก เช่น ไม่อธิษฐานอะไรไว้ ไม่ตั้งสัจจะอะไรไว้ ไม่ตั้งเจตนาจะทำไว้จิตจะไม่ส่งตัวเองไปสู่ตัวตนใหม่ ไม่เกิดอีก และตรงสู่นิพพานทันที แต่ถ้าทำการอธิษฐานจิตไว้ เช่น จะโปรดสัตว์ให้ถึง 5,000 ปี อย่างนี้ จิตจะคงอยู่ในฐานะ "มโนธาตุ" ยังไม่นิพพานอยู่อย่างนี้ จนกว่าจะสิ้น 5,000 ปี



"จิตพุทธะ" กับ "การบรรลุธรรม" นั้นคนละอย่างกัน ยึดโยงกันไม่ได้


อีกประการหนึ่งคือ เราจะมียึดมั่น โยงใยว่าคนที่มีจิตพุทธะนั้นต้องบรรลุธรรมนั้น "ไม่ได้" คนที่มีบารมีแก่กล้า มีจิตวิญญาณถึงขั้นเป็นพุทธะ ก็อาจจะยังไม่บรรลุธรรม แต่ "พร้อมบรรลุธรรมทันทีโดยไม่ต้องฟังธรรม" ก็เท่านั้น เช่น ผู้ที่ "ยอมละสักกายทิฐิ" ไปบวชเป็นสาวกพระพุทธเจ้า ก็เพียงปลงผม หรือห่มจีวรเท่านั้น "โดยไม่ต้องฟังธรรม" ก็บรรลุอรหันต์ได้ทันที เพราะจิตวิญญาณเขาเป็นพุทธะมีญาณตรัสรู้ได้ด้วยตนเองอยู่แล้วติดอยู่เพียง "สักกายทิฐิ" เท่านั้นสิ้นไปด้วยการยอมเป็นสาวกของพระพุทธเจ้าเมื่อใด ก็บรรลุธรรมเมื่อนั้น ดังนั้น จึงมีคนที่เหมือนได้ธรรมขั้นตรัสรู้เองได้อยู่ แต่เขาอาจจะยังไม่ใช่พระอริยบุคคล จนกว่าเขาจะมีการละสักกายทิฐิได้ก่อน จึงจะบรรลุอรหันต์ได้ ซึ่งผู้ที่จะทำให้เขาละได้ก็มีแต่เพียง "พระพุทธเจ้า" เท่านั้นเอง ดังนั้น ท่านต้องแยกแยะระหว่าง "ญาณตรัสรู้" ที่มีอยู่ในพุทธสาวก และ "อาสวขยญาณ" ที่มีในผู้บรรลุอรหันต์ทั้งหลาย "เป็นคนละญาณกัน" เพื่อให้เข้าใจผู้ที่มีลักษณะพร้อมบรรลุธรรม หรือผู้ที่มีจิตวิญญาณถึงพุทธะแล้ว แต่ยังไม่ได้บรรลุธรรมนั้นผมจึงขอใช้ "สมมุติบัญญัติ" ทางโลก เรียกว่า "เซียนพุทธะ" ก็แล้วกัน



"จิตวิญญาณที่พร้อมบรรลุธรรม" ไม่จำเป็นต้องเป็น "พุทธะ" ก็ได้?


อีกประการหนึ่ง คือ จิตวิญญาณที่พร้อมบรรลุธรรมนั้น ไม่จำเป็นต้องมีวิวัฒนาการถึงขั้น "พุทธะ" ก็ได้ แต่ต้องมีวิวัฒนาการสูงระดับหนึ่งคือ "จิตวิญญาณตั้งแต่มนุษย์ขึ้นไป" ที่ไม่ใช่มาร ล้วนพร้อมบรรลุธรรมได้ทั้งสิ้น โดยไม่จำเป็นต้องเป็นพุทธะเลย เช่น จิตวิญญาณโพธิสัตว์ (อยู่สวรรค์ชั้นที่สี่) สามารถบรรลุอรหันต์ได้ เรียกว่า "อรหันตโพธิสัตว์" จิตวิญญาณพรหม สามารถบรรลุอรหันต์ได้ เรียกว่า "อรหันตพรหม" หรือแม้แต่จิตวิญญาณเทพ สามารถบรรลุอรหันต์ได้เรียกว่า "วิสุทธิเทพ" ก็มี เอาละ "นี่เป็นแค่ชื่อเรียก" เท่านั้น อย่าไปสับสนกับเพียงแค่การใช้คำซึ่งเป็นเรื่องสมมุติเพียงเล็กน้อยเท่านั้นเอง สำหรับ "จิตวิญญาณที่ไม่มีวิวัฒนาการสูงพอ" คือ อยู่ในมิติที่ต่ำกว่ามนุษย์ลงไป ก็จะต้อง "กำเนิดใหม่" ให้อยู่ในระดับมนุษย์ขึ้นไปก่อน จึงจะ "พร้อมรับธรรมได้" นั่นเอง ดังนั้น บางลัทธินิกาย จึงเกิดการแตกแยกกันเพราะเหตุเรื่องนี้ เช่น ทางนิกายเซน จะมุ่งเน้นให้มี "โพธิจิต" หรือ "จิตโพธิสัตว์" แล้วบรรลุด้วยการถ่ายทอดธรรมโดยรับจากอาจารย์ (ไม่ได้ตรัสรู้เอง) จนมีคำพูดติดหูว่า"ศิษย์โง่ มาเรียนเซน" บ่อยๆ ในขณะที่วัชรยานจะเน้น "พุทธะ" หรือการเข้าถึงการตรัสรู้ด้วยตนเอง แล้วจึงละสักกายทิฐิ มา "ต่อสายธรรม" ในภายหลัง (เพื่อไม่ให้เป็นเซียนพุทธะ) ดังนั้น จึงมุ่งเน้นการเข้าถึงด้วย"ประสบการณ์ตรง" ไม่ผ่านการบอกเล่าหรือรับธรรมจากอาจารย์ท่านใด



ไม่มีใคร "อ่านตำราเองแล้วบรรลุเองได้" เพราะไม่ใช่ยุคพระปัจเจกฯ


นี่ยังไม่ใช่ยุคพระปัจเจกฯ การใช้ตำรา อ่านตำราธรรม จึงทำได้เพียง "สุตมยปัญญา" เท่านั้น ต่อให้มีความเข้าใจสูงมากเท่าใด มันก็ยังไม่ใช่ "ภาวนามยปัญญา" แม้ว่าไปเพียรภาวนาเอง ก็ใช่ว่าจะบรรลุธรรมเองได้ เพราะไม่ใช่ยุคพระปัจเจกฯ ที่จะมาบรรลุธรรมเอง แต่มีบ้างที่คนบางคนจะเข้าถึง "พุทธะ" ตรัสรู้ถึงนิพพานได้เอง แต่เขาก็ไม่อาจเรียกได้ว่าบรรลุอริยผล เรียกได้ว่าบรรลุธรรมอย่างอื่น เช่น บรรลุเซียน (แต่ไม่ถึงขั้นโสดาบันเพราะยังมีสักกายทิฐิอยู่) เขาก็สามารถตรัสรู้ธรรมถึงนิพพานได้เอง แต่เขายังไม่ได้นิพพาน เมื่อเขาตายลงจะจุติไปยังสุขาวดีโลกธาตุเกิดใหม่เป็น "พระยูไล" หรือ "พุทธะ" พระองค์หนึ่ง เท่านั้นเองการที่ใครจะบรรลุธรรมได้ต้อง "ผ่านการต่อสายธรรม" จากท่านที่บรรลุธรรมแท้จริง เช่น พระพุทธเจ้า โดยตรง, หรือพระอรหันตสาวก ทว่า ถ้าท่านไปฟังธรรมจากพระอรหันต์มา เป็นลูกศิษย์เขา แล้วอยู่ๆ กลับมาคิดอะไรได้เอง อย่าคิดว่านี่คือ การบรรลุธรรม มันไม่ใช่แบบนี้ ถ้าท่านจะได้บรรลุธรรมตามสายธรรมจากพระอรหันต์รูปใด ท่านจะบรรลุเมื่อฟังธรรมโดยตรงขณะนั้นๆ เลย ต่อหน้ากันเลย ไม่ใช่มาบรรลุเองภายหลัง นั่นไม่ใช่การบรรลุโดยการต่อสายธรรม เอาละ เรื่องธรรมะเป็นเรื่องซึ่งละเอียดอ่อนมากมีรายละเอียดปลีกย่อยมีมากมายที่ไม่อาจอธิบายได้หมดในที่นี้


ขอพลังแสงธรรมแห่งพระธรรมกายนั้นช่วยให้ท่านตื่นแจ้งโดยพลัน สวัสดี



23 ก.ค. 2555


"เสียงจากดั้งเดิม"
รับสื่อสารโดย


瑠璃王

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

0 comments:

Post a Comment