ทุกส่วนในบล็อกนี้ ไม่สงวนลิขสิทธิ์ อุทิศแล้วเพื่อปวงชน. Powered by Blogger.
RSS

ท่านจะนิพพานเพียง "ขันธ์ห้า" ไม่ได้ แม้แต่ภารกิจของท่านก็ต้องนิพพานด้วย?

สวัสดีครับ วันนี้มีเรื่องหนึ่งเป็นเกร็ดความรู้เล็กๆ เรื่องนิพพานซึ่งไม่อาจจะนิพพานเฉพาะขันธ์ทั้งห้าได้ (ขันธปรินิพพาน) จำต้องนิพพานทั้งส่วน "ธาตุ 7" ด้วย นอกจากนี้ แม้แต่ของทิพย์ของท่าน ก็ต้องนิพพานด้วยหรือไม่เช่นนั้น ก็ต้องให้ผู้อื่นมารับผิดชอบ-รับสืบทอดต่อไป ท่านจึงจะนิพพานได้ (สำหรับเทวดา ที่จะนิพพาน) เอาละ วันนี้ เรามาคุยเรื่อง "พื้นฐาน" กันอีก เพราะดูแล้วหลายท่านยังไม่พร้อมที่จะรับวิทยาการจากต่างดาวนะครับ


"ขันธปรินิพพาน" เป็นการนิพพานเพียงบางส่วน (สอุปาทิเสสนิพพาน)


อย่างแรกที่ท่านควรทราบก็คือ การทำขันธปรินิพพาน ไม่ใช่การนิพพานทั้งหมด (อนุปาทิเสสนิพพาน) แต่เป็นการนิพพานบางส่วน (สอุปาทิเสสนิพพาน) คือ เฉพาะส่วนที่เรียกว่า "ขันธ์ห้า" เท่านั้น ซึ่งจะอยู่โดยรอบของ "มโนธาตุ" (มโนธาตุเป็นศูนย์กลาง เหมือนจุดศูนย์กลาง) จึงมีคำเรียกอีกคำว่า "ขันธปรินิพพาน" แปลว่า ขันธ์นิพพานโดยรอบ (ปริ แปลว่ารอบๆ เป็นรากศัพ์ของคำว่า "บริเวณ" นั่นเอง) ซึ่งผลคือ "ส่วนเหลือจากสอุปาทิเสสนิพพาน" เช่น ส่วนของ "สัมโภคกาย" (กายสังขาร) ก็เหลือสิ่งที่เรียกว่า "พระธาตุ" ให้เราได้สร้างเจดีย์บูชากัน เป็นต้น และยังมีส่วนเหลืออื่นๆ อีก เช่น ส่วนของ "นิรมาณกาย" (จิตวิญญาณชั้นนอก) ซึ่งยังจรอยู่เพื่อดำรงคงไว้ซึ่งพระพุทธศาสนาต่อไป ส่วนนี้จะสืบทอดไปสู่ร่างสังขารอื่นๆ ได้อีก เช่น ร่างพระสาวก ที่ช่วยค้ำจุนพระศาสนา เหมือนภูติประจำตัว ฉะนั้น ส่วนของ "ธรรมกาย" เหลือสิ่งที่เรียกว่า "มโนธาตุ" อันเป็นธาตุที่บริสุทธิ์ประภัสสร, สว่างไสว (นิพพานเป็นธรรม อันพ้นแล้วจากของคู่ ทั้งความบริสุทธิ์หรือไม่บริสุทธิ์, สว่างไสวหรือมืดมน ก็ตามถ้ายังมีความบริสุทธิ์ประภัสสรอยู่ หรือความมืดมนไม่บริสุทธิ์อยู่ก็ตาม ล้วนไม่ใช่นิพพาน) เอาละ "ส่วนเหลือ" เหล่านี้ เราจะมาศึกษาร่วมกัน ต่อไป



คำว่า "อนุปาทิเสสนิพพาน" (นิพพานสิ้นเชื้อ) หมายถึงอะไรนิพพานบ้าง


ต่อไปที่ท่านควรทราบคือ คำว่า "อนุปาทิเสสนิพพาน" นั้น หมายถึงสิ่งใด 
นิพพานบ้างละ? ที่ว่า "นิพพานทั้งหมด, นิพพานไม่เหลือเชื้อ" นั้นๆ มันมีอะไรบ้างละ เอาละ ไล่ดูไปช้าๆ นะ จะได้เข้าใจเป็นพื้นฐานก่อน อย่างแรก 1. ขันธ์ห้านิพพานหมด 2. ธาตุ 7 นิพพานหมด 3. ของทิพย์อะไรที่เคยมีเคยใช้ (กรณีเป็นเทวดาที่มีของทิพย์) ก็นิพพานหมดนะ ยกเว้นว่าได้มีคนมารับช่วงต่อ สืบทอดต่อให้แทน เช่นนั้น ไม่ต้องทำ ของทิพย์นิพพาน ก็ได้ สรุปว่า "หมดไม่เหลือเชื้อ" แม้แต่ "สิ่งที่ตนสร้างขึ้น" อะไรบ้าง ก็ต้องทำให้ดับสิ้นสภาพนะ ไม่ต้องถึงขั้นนิพพานก็ได้ ทำแค่ไหน กลับคืนแค่นั้นเช่นใช้ดินเหนียวมาปั้นกระสุน ทำให้มันสิ้นความเป็นกระสุนกลับเป็นดินเหนียวก็พอ ถ้าใครสร้างวัดไว้ ก็ทำให้วัดนั้นคืนสภาพเป็น "ดิน, น้ำ, ลม, ไฟ" ก็จะไม่เหลือเชื้อบุญกรรมไว้ ให้เกิดชาติต่อภพ อย่างนี้ก็ได้ ไม่ต้องทำถึงขั้นให้วัดนิพพาน เพราะยังมี "จิตวิญญาณแม่ธาตุทั้งหลาย" รับช่วงดูแลต่อไปให้ ตรงนี้ไม่ต้องไปทำนิพพานก็ได้ (แม้แต่ดิน ก็นิพพานได้ และต้องได้นิพพานในที่สุด จึงจะหมดสมมุติไว้หล่อเลี้ยงวัฏฏะสงสารแต่จะนิพพานก็เมื่อสิ้นวาระที่จะรองรับการเกิดอีกแล้วเท่านั้น) เอาละ เรื่องนี้ มันเกี่ยวข้องกับคำว่า "ภารกิจการดูและธาตุธรรม" ต่างๆ ของเทพเทวดาเขา ผมจะไม่ขอพูดมาก ยิ่งพูดจะยิ่งสับสนงุนงงเพราะเราไม่ใช่เทพเทวดากับเขาใช่มั้ย



พระพุทธเจ้าสั่งทุบ "กุฎิดิน" ของสาวกรูปหนึ่ง ก็เพื่อให้เขาได้นิพพาน


ต่อไปที่ท่านควรทราบคือ ดังที่ผมได้บอกแล้วว่าท่านจะได้ถึงอนุปาทิเสส
นิพพานได้นั้น ท่านต้องนิพพานหมด เคลียร์งาน เก็บกวาดสมมุติที่ท่านทำ ท่านสร้างไว้ "ให้สิ้นสภาพเดิมไป" ทั้งหมด จะทิ้งเชื้อเหลือสมมุติไว้หล่อเลี้ยงบุญกรรมสืบชาติต่อภพไม่ได้ ดังนั้น พระพุทธเจ้าจึงไม่ให้สงฆ์สร้างวัด, ทำอะไรทิ้งไว้บนโลกเลยแม้แต่อย่างเดียว ท่านเคร่งครัดและมีความเด็ดขาดมากในเรื่องนี้ เพราะอะไร? เพราะนี่คือ วิธีที่จะทำให้ได้ถึงนิพพานจริงๆ ซึ่งมีแต่พระพุทธเจ้าองค์เดียวเท่านั้นที่ทราบถึงขั้นนี้ ถ้าไม่เชื่อฟังท่านแล้ว "สัตว์โลกคงหมดหวังที่จะได้นิพพาน" ดังนั้น ท่านจึงมีคำสั่งให้ทุบกุฎิดินของพระสาวกรูปหนึ่ง ไม่ใช่ครั้งเดียว แต่ทุกครั้งที่เขาสร้างขึ้น สร้างใหม่ก็ทุบ สร้างอีกก็ทุบอีก นั่นแหละ มันคือวิถีที่จะช่วยให้เขาได้นิพพานจริงๆ มันต้องทำอย่างนั้นจริงๆ ไม่เช่นนั้น "ถาวรวัตถุ" นั้นจะดำรงอยู่ต่อไปหลังผู้สร้างตายไปแล้ว และถ้าเกิดผลประโยชน์แก่สัตว์อื่นใดมาใช้ต่อ ก็จะเกิดผลบุญต่อเนื่อง สืบชาติต่อภพต่อไปได้ ดังนั้น จึงต้อง "ทำให้สิ้นสภาพเสีย" และผู้ที่จะเอานิพพานจริงๆ เขาจะไม่สร้างสิ่งอื่นใดไว้บนโลกอีกแล้ว เพราะมันเป็น "ภาระให้แก่ผู้สร้าง" เป็นบุญสืบไปเป็นของที่ไม่จบ ไม่สิ้น ไม่หมดลงได้ในชาตินี้ นี่แหละ ถึงบอกว่ามันไม่ใช่แค่ "ขันธปรินิพพาน" และจะนิพพานหมดได้ มันก็ต้อง "ทั้งหมด" แม้แต่สิ่งสุมติทั้งหลายที่ใครสร้างขึ้น คนนั้นก็ต้องทำลายเสียให้หมด ไม่เว้นแม้แต่ "ประเทศชาติบ้านเมือง" บางคนยังต้องเกิดมาทำลายให้สิ้นซากเลยที่กล่าวนี้ไม่ได้สอนหรือยุยงให้ท่านทำละ แต่มันมีผู้ที่ถูกธรรมชาติจัดสรรให้ทำอยู่ เขามี "อาญาสิทธิ์-อาญาธรรม" ที่จะกระทำได้ เราก็ต้องปลง!



ธรรมะของพระพุทธเจ้าแท้แล้วสวนกระแสโลก ดังนั้นท่านพูดตรงๆ ไม่ได้


ต่อไปที่ท่านควรทราบคือ ธรรมะของพระพุทธเจ้าแท้แล้ว "สวนกระแสโลกดังนั้น ท่านจึงพูดตรงๆ ไม่ได้" เช่น การที่ไม่สร้างไม่ทำอะไรอีกแล้ว ก็สวนกระแสโลก เพราะทางโลกเขาแข่งกันสร้างผลงาน แข่งกันทำไปหมด ใครไม่ทำ คนนั้นขี้เกียจกลายเป็นคนไม่ดีไป หรือแม้แต่การเก็บกวาดสิ่งตกค้างที่อยู่บนโลก อันนี้ทางโลกเขาก็หาว่าเป็นคนเลว หาว่าเป็นพวกทำลายล้างสิ่งที่คนอื่นเขาสร้างสรรค์ขึ้นมา ฯลฯ เอาละ ธรรมะอันนี้สุ่มเสี่ยงที่คนจะเกิดความเข้าใจผิดนะ พระพุทธเจ้าไม่ได้สอนให้ไปทำชั่วหรือทำลายล้างอะไรใคร แยกแยะและทำความเข้าใจให้ดีด้วย สรุปคือ เพราะธรรมของท่านนั้นสวนกระแสโลก บางอย่างท่านจึงพูดตรงๆ ไม่ได้ และต้องให้เข้าถึงด้วยตนเอง เกิดปัญญาขึ้นเอง ก็จะทราบเองว่าทำไมจึงต้องทำ ต้องเป็นเช่นนั้น แต่เมื่อไม่ได้กล่าวตรงๆ นานวันเข้า ผ่านมานานเข้า คนรุ่นหลังก็ไม่เข้าใจ สุดท้ายก็ปฏิติผิดทาง จากสมัยก่อนแค่กุฎิดินยังต้องทุบทิ้ง สมัยนี้สรางวัด ไม่ต่างจาก "พระราชวัง" จำลองพระราชวังมาสร้างวัดกัน อันนี้ ก็ไม่มีทุบทิ้งเอาละ ถ้าท่านไม่รีบนิพพาน ก็ไม่เป็นไร! แต่ถ้าท่านไหนจะนิพพานภายในห้าพันปีนี้ ก็อย่าไปสร้างอะไร ร่วมสืบชาติต่อภพไปข้างหน้ากับเขาแล้วกัน



เทพจะเข้านิพพาน ยังต้องทำ "ของทิพย์นิพพาน" ก่อน จึงจะเข้าได้


ต่อไปที่ท่านควรทราบคือ แม้แต่เทพเทวดาที่มีของทิพย์ "ทิพยทรัพย์" 
ทั้งหลาย ก่อนจะเข้านิพพานได้ ก็ยังต้องกระทำ "ของทิพย์นิพพาน" เพื่อไม่ให้ของทิพย์ของตน เหลือตกค้างอยู่ในสามภพ อันจะเป็นเชื้อเหลือเกิด "บุญกรรม" สืบเนื่องต่อไป ให้ก่อตัวเป็นชาติ เป็นภพได้อีกยกตัวอย่างเช่น เทพบางองค์มี "พระขรรค์ทิพย์" จะต้องกระทำ พระขรรค์ทิพย์นิพพาน" ก่อน จึงจะเข้านิพพานได้และเมื่อพระขรรค์ทิพย์ดับสิ้นสภาวะถึงแก่นิพพานนั้น เทพเทวดาองค์นั้น ก็จะเกิดปัญญาจนบรรลุอรหันตผลทันที อันเป็นผลมาจาก "พลังทิพย์ระดับนิพพาน" ที่แผ่ออกมาในช่วงนั้น นั่นเอง ทั้งนี้ เทพ-เทวดา แต่ละองค์ต่างก็มีของทิพย์ แตกต่างกันไป การเข้าถึงอรหันตผลด้วยการทำให้ของทิพย์ได้ถึงนิพพานนี้ จึงทำให้เกิดปัญญาในแบบที่แตกต่างกัน เช่น ดาบทิพย์ คือ ประตูนิพพานแห่งการตัดขาดสิ้นเยื่อใย ก็จะมีธรรมไปอย่างหนึ่ง, แก้วมณี คือ ประตูนิพพานแห่งการรักษาศีลพรหมจรรย์ ก็จะมีธรรมที่เรียกไปอีกอย่างหนึ่ง ดังนั้น จึงมีคำเรียกต่างกันไปในขณะบรรลุธรรมว่า "บรรลุด้วย อริยมรรค" บ้าง, "บรรลุด้วย อไทวตธรรม" บ้าง ฯลฯ แตกต่างกันฉะนี้ ซึ่งท่านที่เข้าถึงอรหันต์ แล้วจะเข้าใจดีถึงสิ่งเหล่านี้



"มโนธาตุนิพพาน" ด่านสุดท้ายก่อน "อนุปาทิเสสนิพพาน" (สิ้นเชื้อ)


สุดท้ายที่ท่านควรทราบคือ การกระทำ "พระธาตุนิพพาน" โดยเฉพาะส่วนที่เรียกว่า "มโนธาตุ" นั้น เขาทำกันอย่างไร? มันก็ไม่ยากหรอก ก็เหมือนกับอย่างอื่นที่นิพพานไปก่อนนั่นแหละ (ที่นิพพานบางส่วน) มันก็ "มรรคเดียวกัน" พิจารณาด้วยจิตนี้ ให้เห็นถึง "ธรรมในธรรม" ของสิ่งนั้นๆ เช่น พิจารณา "มโนธาตุ" ก็ไปถึง "จิตในจิต" แล้วพ้นไปเหนือ ไปจากจิต มันก็ไม่เหลือสภาพจิตอีก มันก็เกิดปัญญาแจ้งตื่นขึ้นได้ว่าอ้อที่ผ่านมานี้ "เรายึดติดภาวะจิต" คือ ภาวะจิตผู้รู้บ้าง, จิตผู้บริสุทธิ์บ้าง, จิตผู้สว่างไสว (ประภัสสร) บ้าง แท้แล้ว "นิพพาน" ที่พ้นแล้วจากทั้งคู่ทั้งมืดและสว่าง ทั้งบริสุทธิ์และไม่บริสุทธิ์นั้น มันเป็นอย่างไร? ไม่มีภาระต้องระมัดระวังจิตว่ามันจะมี "พลังมืดเข้าแทรกหรือครอบงำ" อีกต่อไป ไม่ต้องห่วงแบบนั้น ไม่มีกังวลว่าจิตจะไม่สว่างไสวอะไรอีกต่อไป มันไม่ต่างกันแล้ว มันพ้นแล้วจากทั้งมืดและสว่าง บริสุทธิ์และไม่บริสุทธิ์ ไม่มีให้ยึดข้างใดข้างหนึ่งเลย มันพ้นแล้ว, เหนือไปแล้ว เลยไปแล้ว มันเป็นอย่างไร? เอาละ ไม่ต้องพูดมากเขารู้กันเอง ถึงเองก็รู้เองไม่ต้องอธิบาย


ขอพลังแสงธรรมแห่งพระธรรมกาย ช่วยให้ท่านตื่นแจ้งฉับพลัน สวัสดี



15 ส.ค. 2555


"เสียงจากพระสาวก"
รับสื่อสารโดย


瑠璃王

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

0 comments:

Post a Comment