ทุกส่วนในบล็อกนี้ ไม่สงวนลิขสิทธิ์ อุทิศแล้วเพื่อปวงชน. Powered by Blogger.
RSS

ในชีวิตนี้ มีอะไรบ้างที่ท่านได้มาโดยบุญจริงๆ หรือก่อกรรมเพื่อให้ได้มา?

สวัสดีครับ วันนี้ ไม่รู้จะพูดเรื่องอะไรดี จริงๆ ครับ เลยเอาเรื่องเล็กๆ คือ เรื่อง การสำรวจดูตัวเรา ของๆ เรา ดูว่าสิ่ง ที่เราได้มาโดยบุญจริงๆ มีกี่อย่างและ สิ่งที่เราได้มาด้วยการก่อกรรมมีเท่าไร คิดแล้วเป็นกี่เปอร์เซนต์ ง่ายดีไหมครับ ยกตัวอย่างนะครับ คู่ของท่าน เขามา เอง มาโดยบุญ โดยท่านไม่ได้ก่อกรรม อะไรให้ได้มาหรือเปล่า? หรือว่าท่านมี กรรม ก่อกรรม ตามจีบ เอาอกเอาใจให้ เขาชอบและเพื่อให้ได้มาครอง? เอาละ นี่ไง ดูง่ายๆ ว่าคู่ครองของท่านเป็นคู่บุญ หรือคู่กรรม ก็ได้มาด้วยบุญหรือกรรมน่ะ แหละครับ เอาละ ทีนี้ เรามาเช็คดูอย่าง อื่นกันบ้างนะครับ จะได้เห็นความจริงกัน


สิ่งที่ท่านมีอยู่ทุกวันนี้เพราะ "ท่านเป็นผู้มีบุญ" หรือเพราะก่อกรรม?


อย่างแรก ที่อยากให้ท่านลองสำรวจตัวเองคือ สิ่งต่างๆ ที่ท่านมีอยู่นี้ ท่านได้มาโดยบุญสักกี่เปอร์เซ็นต์ และได้มาด้วยการก่อกรรมกี่เปอร์ เซ็นต์ ยกตัวอย่างง่ายๆ พอเราหิวน้ำ น้ำนั้นได้มาโดยบุญ เขาให้ มัน มีเอง หรือว่าท่านใช้เงินไปซื้อ ก่อกรรม ด้วยการใช้อำนาจเงินซิ้อมัน มาเป็นของท่าน? เอาละ ของทั้งหลายที่ท่านได้ครอบครองอยู่ มันมา โดยการก่อกรรมใช้อำนาจเงิน แลกเปลี่ยนมามั้ย? หรือว่ามีคนเอามา ให้ท่านเอง เหมือนพระที่อยู่เฉยๆ มีคนเอาของมาทำบุญให้ กี่อย่างละ เปรียบเทียบกับของที่ท่านได้มาด้วยการก่อกรรม เอาเงินไปซื้อมา มัน มากน้อยแตกต่างกันอย่างไร? ทีนี้ ท่านก็จะประเมิณได้ง่ายๆ ว่าท่าน ใช้ชีวิตแบบ "ปล่อยไปตามบุญกรรม" กี่ % และ "ก่อกรรมตามใจที่ ดำริเอง ตั้งเจตนาเอง เลือกทำเอง" กี่ % เอาง่ายๆ ละ ถ้าเกิน 50% นี่พอเข้าข่าย "โสดาบัน" ได้หรือไม่? (อาจจะไม่ใช่ ก็ได้ ต้องไปดูสิ่ง อื่นประกอบด้วย) แต่ถ้าไม่ถึง 50% นี่ ดูท่าคงห่างไกลจากคำว่าพระ โสดาบันไปแล้วหรือไม่ครับ? เพราะดูแล้วก่อกรรมเพื่อให้ได้มาเกินไป กว่าครึ่งเสียแล้ว อันนี้ จะเรียกว่า เชื่อในกฏแห่งกรรมได้มากแค่ไหน?


คู่ครองของท่านนั้นเป็น "คู่บุญ" หรือ "คู่กรรม" หรืออื่นๆ อย่างไรกันแน่?


ต่อไป ที่อยากให้ท่านลองสำรวจตัวเองคือ "คู่ครอง" ของท่านละ ท่านได้ เขามาด้วยการที่ท่านไม่ได้ก่อกรรมอะไรเลย เขามาเองมั้ย? เช่น พ่อ-แม่ พามาให้แต่งงานด้วยหรือเปล่า? หรือว่าจริงๆ แล้วท่านคิดเอง ทำเองและ ก่อกรรมเลือกของท่านเองทั้งหมด เอาละ ถ้าท่านได้คู่มาด้วยการก่อกรรม เขาก็คือ "คู่กรรม" แต่ถ้าท่านไม่ได้ก่อกรรมอะไร เขามาเอง ได้เขามาเอง จึงนับว่าเป็น "คู่บุญ" นะครับ ซึ่งทั้งสองประเภทนี้ยังไม่ใช่ "คู่บารมี" ซึ่ง จะได้มาจากการบำเพ็ญบารมีต่างก็บำเพ็ญบารมีของตนไป ไม่ได้ต้องการ ให้ได้มาซึ่งกันและกัน แต่แล้วด้วยผลแห่งบารมีนั้นๆ ก็ทำให้ท่านต้องมาคู่ กัน โดยไม่อาจมี "บุญกรรม" ใดมาขวางกั้นได้ เพราะบารมีของทั้งสองถึง กัน เทียบเทียมกัน ไม่อาจมีสิ่งใดขวางได้ ก็ทำให้ต้องมาคู่กัน แบบนี้มีมั้ย? เมื่อท่านตรวจเช็คดูแล้ว ท่านก็จะทราบว่าคู่ครองของท่านนั้น เป็นคู่บุญ, คู่ กรรม หรือคู่บารมี เอาละ มันจะมาต่างกันมากครับ คือ คู่กรรมนั้นจะมาชวน ให้เราลุ่มหลง และดูดีมากในช่วงแรก จนเราอดใจไม่ได้ ที่จะก่อกรรมอะไร ให้ได้เขามาครอง เลยกลายเป็น "คู่กรรม" ไงครับ ส่วนคู่บุญนั้น จะเข้ามา แบบเราไม่ได้ต้องการ แต่เราก็ไม่ได้ปฏิเสธอะไร มาโดยบุญจริงๆ ครับ ส่วน คู่บารมีนี่ จะมายามที่เราบำเพ็ญบารมียิ่งยวด และจนถึงจุดหนึ่ง ทั้งเขาและ เราต่างก็ไม่มีใครเหนือใครได้ ทัดเทียมกัน ก็เลยต้องมาคู่กัน จะได้จบเรื่อง ครับซึ่งเกิดขึ้นได้ยากและส่งผลกระทบต่อคนจำนวนมากได้ด้วยบารมีด้วย


สัตว์เลี้ยงของท่านนั้นมาโดย "บุญ" หรือ "กรรม" หรือ "บารมี" กันแน่


ต่อไป ที่อยากให้ท่านลองสำรวจตัวเองคือ "สัตว์เลี้ยงของท่าน" ท่านได้ มาด้วยการก่อกรรมไหม? เช่น เอาเงินไปซื้อมา หรือมาโดยบุญ เช่น เขา มาหาเราเองถึงบ้าน เราเลยเลี้ยงเขาไว้ หรือมาโดยบารมี เช่น ขณะที่เรา บำเพ็ญบารมีอยู่ เขามาช่วยเราหรือบำเพ็ญบารมีร่วมกับเราด้วย เช่น ม้า ศึก, ช้างทรง ฯลฯ เป็นต้น โดยเฉพาะหมาแมวสวยๆ ที่ท่านรัก มาได้ด้วย วิธีการใด มาด้วยการใช้เงินไปซื้อมามั้ย? หรือมาด้วยการที่เขามาเองถึง ที่บ้าน ลองดูดีๆ นะครับ หมาแมวที่ท่านกำลังหลงรักอยู่ ลุ่มหลงอยู่นั้นมา ได้ด้วยวิธีการใด ถ้ามาโดยกรรม เขาก็อาจนำกรรมมาให้ครับ เช่น ทำให้ เราลุ่มหลง จากเคยมีปัญญาตัดสินใจอะไรได้ถูกต้อง ก็โง่ลง ตัดสินใจผิด บ่อยๆ หรือเปล่า? เพราะสัตว์นั้นอาจนำพา "จิตวิญญาณเทพนักษัตร" ก็ ดี, ปีศาจ ก็ดี ฯลฯ มาด้วยได้นะครับ สัตว์อาจเป็น "พาหะนำวิญญาณ" ที่ ดีหรือไม่ดี เข้ามาในบ้านของท่าน ก็ได้ แต่อย่าหลงใน "รูปลักษณ์" ภาย นอกมากละ เพราะท่านอาจถูกครอบงำด้วยจิตวิญญาณที่อาศัยมากับสัตว์ ตัวนั้นได้ ที่แน่ๆ คือ ถ้าสัตว์นั้นมาด้วยบุญ ก็จะนำบุญมาหนุนเรา ถ้าสัตว์นี้ มาโดยกรรม ก็จะนำกรรมมาให้ แต่ถ้ามาโดยบารมี ก็จะสร้างบารมีกับเรา


"พาหนะ" ของท่านนั้นมาโดย "บุญ" หรือ "กรรม" หรือ "บารมี" กันแน่


ต่อไป ที่อยากให้ท่านลองสำรวจตัวเองคือ "พาหนะทรง" ของท่านละ มา โดยบุญ, โดยกรรม หรือโดยบารมี? เช่น รถที่ท่านใช้ ท่านได้มาเพราะใช้ เงินตัวเองซื้อ ก็เป็นการก่อกรรม ไม่เดือดร้อนใครมาก (แต่ก็มีทั้งควันดำ- เสียงรบกวน ฯลฯ ด้วยนะครับ อย่าลืม) หรือว่าได้มาเพราะบุญ มีคนเอามา ให้เอง เวลาท่านจะใช้ ท่านก็ไม่ได้ใช้ด้วยดำริ ด้วยเจตนาของท่านเอง แต่ เพราะเขาบอกให้ไป ก็ไป อะไรแบบนั้นหรือไม่? หรือว่าได้มาแล้ว คิดเอง- ทำเอง ตั้งดำริ, เจตนาเอง ไม่รอให้วิบากกรรมนำพา ก็ทำกรรมใช้เสียเอง เลย อย่างนั้นหรือเปล่า? หรืออย่างไร? อย่าลืมนะครับว่ารถยนต์หนึ่งคันนี้ มีกรรมประกอบกันขึ้นมามากมาย ตั้งแต่วัตถุดิบที่นำมาผลิตจะต้องระเบิด ภูเขา เอาแร่เหล็กมาถลุงก่อนมั้ย? น้ำมันที่ใช้ต้องขุดเจาะเอามาหรือไม่? แต่ละขั้นตอนการผลิตก่อมลพิษเท่าไร? ก่อกรรมเท่าไร? คนซื้อรถ คนใช้ รถก็ต้องร่วมกรรมนั้นไปด้วยนะครับ ภูมิใจมากมั้ยที่มีเงินซื้อรถ? หรือว่ามี ความภูมิใจในผลบุญที่พึงได้ของตน ก็พอใจแล้ว อยู่เฉยๆ มีคนเอามาให้ เท่าไรก็พอใจเท่านั้น ไม่ได้ก่อกรรมเพื่อให้ได้มามากกว่านั้น หรืออย่างไร สรุปแล้วท่านมี พาหนะคู่บารมี, พาหนะคู่บุญ หรือว่า พาหนะคู่กรรม กัน แน่? เอาละ แล้วอย่างไหนที่ท่านควร "ภูมิใจ" แบบที่ได้มาด้วยบารมีมั้ย หรือที่ได้มาด้วยการก่อกรรมให้ตนได้ครอบครองตามใจ ตามกิเลสตนนั้น


"คนมีบุญ" ก็ดี "ผู้มีบารมี" และ "คนก่อกรรมขึ้น" ก็ดี สามคนนี้ต่างกัน


ต่อไป ที่อยากให้ท่านทราบ คือ คนมีบุญ, คนมีบารมี และคนก่อกรรมขึ้น สามบุคคลนี้ มันต่างกัน สังคมโลกมักไป "นับถือคนก่อกรรมขึ้น" คือ คน ที่ก่อกรรมให้ได้มา ซึ่งอำนาจ, ชื่อเสียง, เงินทอง, บริวาร ฯลฯ มากมาย ซึ่งคนประเภทนี้มีอยู่มากมายในสังคมโลก และไม่มีใครสอนให้เขาเข้าใจ เรื่องเหล่านี้เลย เขาก็ยิ่งก่อกรรมเพื่อให้ได้ครอบครองกันใหญ่ แม้แต่พระ เทศน์ก็เทศน์ไม่ถูกที่คัน มันก็ไม่หาย ความหลงโลก มันก็ยังมากมายอยู่ ด้วยเพราะขาดแสงธรรม นั่นเอง คนไม่รู้ ว่าเขากำลังอยู่บนโลกนี้ได้ด้วย การก่อกรรม มิใช่ด้วยผลบุญเก่าสนองผล แต่อย่างใดไม่ ผู้คนทั้งหลายก็ หลงคนผิด ไปนิยมชมชอบคนที่ก่อกรรมขึ้น ก่อกรรมเก่ง คนที่ประสบผล สำเร็จทางโลกได้ด้วย "การก่อกรรม" แทนที่จะนิยมคนที่อยู่ได้ด้วยบารมี ด้วยบุญของเขาเอง แบบนั้นไม่เด่น ไม่ดัง เพราะก่อกรรมแข่งกับเขาไม่ได้ เลยไม่ค่อยมี ไม่ค่อยได้ ไม่ค่อยเป็น อะไรกับเขา มีน้อยกว่าเขา กลายเป็น เหมือนคนที่ "ไม่มีบุญ" คนที่ต่ำต้อยไปเลย เพราะคนอื่นเขาก่อกรรมแก่ง แย่งกันมากมาย เขาทำกรรมกันเก่งทำให้สังคมยอมรับได้ว่าประสบความ สำเร็จในชีวิตได้ด้วยการก่อกรรมสารพัดประการ ไม่ได้อยู่เฉยๆ รอผลบุญ


สิ่งที่ได้มาด้วยบุญบารมี ต่อให้ด้อยค่า ก็น่าภูมิใจกว่าได้มาด้วยกรรม


ต่อไป ที่อยากให้ท่านทราบ คือ สิ่งใดที่เราได้มาโดยเราไม่ก่อกรรมให้ ได้มา เราได้มาเพราะผลบุญของเราเอง หรือเพราะบารมีของเราเองก็ เป็นสิ่งที่น่าภาคภูมิใจ แม้ว่าจะดูด้อยค่า ไม่มีราคา หรือน้อยกว่าคนอื่น ก็ดี แต่เมื่อได้มาด้วยบุญ, บารมีแล้ว ก็นับว่าเป็นสิ่งที่ควรภาคภูมิใจ ที่ เราไม่ต้องไปก่อกรรมกับใคร เราก็ได้มาด้วยผลบุญ ด้วยบารมีของเรา เอง ทว่า คนเราในปัจจุบันอาจแยกแยะไม่ออกระหว่าง สิ่งที่ได้มาด้วย ผลบุญ-บารมี และการก่อกรรมเพื่อให้ได้มา และโลกมนุษย์ถูกสอนให้ หลงผิดว่าการได้มาด้วยการก่อกรรมด้วยตนเอง เป็นสิ่งที่น่าภาคภูมิใจ แทนที่จะนิยมการได้มาด้วยผลบุญ ด้วยการไม่ก่อกรรมทำเข็ญกับผู้ใด ดังนั้น สังคมโลกนี้ จึงเต็มไปด้วยคนที่นิยมก่อกรรม พร้อมที่จะแก่งแย่ง กันให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ตนนั้นต้องการและท้ายที่สุด สังคมโลกจึงวุ่นวายไป ด้วยการแก่งแย่งแข่งขัน และการก่อกรรมของปวงสัตว์ทั้งหลาย จึงไม่ มีสันติสุขได้อย่างแท้จริง และท้ายที่สุด ก็นำไปสู่ "สงคราม" ได้นั่นเอง


ลองมาภาคภูมิใจกับ "สิ่งที่ได้มาด้วยบุญบารมี" กันตั้งแต่วันนี้เถอะ?


สุดท้าย ที่อยากให้ท่านทราบ คือ คนเราไม่จำเป็นต้องไม่ก่อกรรมอะไร เลย ถ้าเขายังไม่รีบนิพพาน เขาก็ก่อกรรมทั้งดีและชั่วต่อไปได้ แต่เขา ไม่จำเป็นต้องก่อกรรมเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งใดๆ เขาอาจก่อกรรมเพื่อช่วย คน, ช่วยสังคม, ช่วยโลกก็ได้ โดยไม่ได้ก่อกรรมเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งใด เลย ส่วนสิ่งที่ตนได้มานั้น ก็มาได้ด้วยผลบุญบารมีของตนจริงๆ คือ ได้ มาเอง หรือได้มาโดยไม่ได้ก่อกรรมเบียดเบียนใคร แม้ว่าสิ่งที่ตนได้มา จะไม่ได้มีราคามาก หรือไม่ได้เป็นที่นิยมของคนในสังคม ก็ตาม แต่ถ้า เราได้มาด้วยผลบุญ, บารมีของเรา เราก็ภาคภูมิใจได้เต็มที่ว่าเราได้มี สิ่งนี้ ได้มาด้วยผลบุญ ผลแห่งบารมีของเราเอง ไม่ได้ก่อกรรมต่อใครๆ


ขอพลังแสงธรรมแห่งพระธรรมกาย จงช่วยท่านให้ตื่นโลกฉับพลัน สวัสดี


30 ส.ค. 2555

"เสียงจากพระสาวก"
รับสื่อสารโดย

瑠璃王

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

0 comments:

Post a Comment